ภาพประวัติศาสตร์ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศและพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9
ข้อควรรู้ก่อนเข้าชมพระเมรุมาศ วันที่ 2-30 พฤศจิกายน พ.ศ.2560
1. เปิดให้เข้าชม ตั้งแต่วันที่ 2-30 พ.ย. 60 ระหว่างเวลา 07.00 – 22.00 น.
2. กำหนดเวลาเข้าชม รอบละ 1 ชั่วโมง แบ่งเป็น 2 ช่วง ถ่ายภาพและชมภาพภูมิทัศน์ต่างๆ 15 นาที และชมพื้นที่ด้านในของพระเมรุมาศ และนิทรรศการอิสระ เป็นเวลา 45 นาที
3. เข้าชมได้รอบละ 5,000 คน รองรับประชาชนได้วันละ 100,000 คน
4. จุดคัดกรอง 5 จุด ได้แก่
- สำหรับประชาชน 1. บริเวณหน่วยบัญชาการรักษาดินแดง (รด.) 2. ท่าช้าง 3. พระแม่ธรณีบีบมวยผม
- สำหรับพระภิกษุสามเณร เข้าทางด้านหน้า ม.ธรรมศาสตร์
- สำหรับผู้พิการ ด้านหลังกระทรวงกลาโหม
5. การแต่งกายเข้าชมนิทรรศการพระเมรุมาศ ให้แต่งด้วยชุดสุภาพเช่นเดียวกับเข้าชมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) โดยงดเว้นเสื้อสายเดี่ยว เสื้อแขนกุด และกางเกงขาสั้น
ผู้ชาย
- สวมเสื้อมีแขน กางเกงขายาว สวมรองเท้าแบบสุภาพ
- ไม่สวมเสื้อผ้าเนื้อบาง เสื้อผ้ารัดรูป กางเกงยีนส์ฟอก ขาดวิ่นหรือรัดรูป และรองเท้าแตะ
ผู้หญิง
- สวมเสื้อมีแขน สวมกระโปรงยาวคลุมเข่า กางเกงขายาวทรงสุภาพ สวมรองเท้าสุภาพ
- ไม่สวมเสื้อผ้าเนื้อบาง เสื้อผ้ารัดรูป เสื้อผ้าเอวลอย และรองเท้าแตะ
6. การเดินทาง รถโดยสารและเรือโดยสาร บริการฟรี!
7. มีเนื้อหานิทรรศการบริเวณมณฑลพิธี ทั้งหมด 3 ส่วน 1. นิทรรศการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2. นิทรรศการเกี่ยวกับการจัดสร้างพระเมรุมาศ 3. นิทรรศการพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
8. ภายในบริเวณพระเมรุมาศ จะมีการแสดงมหรสพและการแสดงต่างๆ ทุกวัน เวลา 18.00 – 22.00 น.
ภาพประวัติศาสตร์ ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พุทธศักราช 2560

ริ้วขบวนที่ 1 เชิญพระโกศทองใหญ่โดยพระยานมาศสามลำคาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ผ่านทางประตูเทวาภิรมย์จากนั้นใช้เส้นทางถนนมหาราช เลี้ยวเข้าสู่ถนนท้ายวัง มุ่งไปยังถนนสนามไชย เชิญพระโกศทองใหญ่ขึ้นประดิษฐานในบุษบกพระมหาพิชัยราชรถ บริเวณหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม รวมระยะทาง 817 เมตร ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีจัดกำลังพล 965 นาย
ริ้วขบวนที่ 2 เชิญพระโกศทองใหญ่ขึ้นประดิษฐานในบุษบกพระมหาพิชัยราชรถโดยเกรินบันไดนาค จากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ไปทางถนนสนามไชย ยาตราขบวนแห่เชิญพระโกศทองใหญ่จากถนนสนามไชย เข้าสู่ถนนราชดำเนินใน จากนั้น ขบวนพระบรมราชอิสริยยศแห่เชิญพระโกศทองใหญ่เข้าสู่ท้องสนามหลวงรวมระยะทาง 890 เมตร ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงจัดกำลังพล 2,406 นาย
ริ้วขบวนที่ 3 เชิญพระโกศทองใหญ่ลงจากพระมหาพิชัยราชรถโดยเกรินบันไดนาคประดิษฐานพระโกศทองใหญ่บนราชรถปืนใหญ่ ตั้งขบวนพระบรมราชอิสริยยศเข้าสู่ราชวัติเวียนพระเมรุมาศโดยอุตราวัฏ (เวียนซ้าย) 3 รอบ เวียนพระเมรุมาศครบ 3 รอบแล้วเทียบราชรถปืนใหญ่ที่เกรินบันไดนาคพระเมรุมาศ เชิญพระโกศทองใหญ่ขึ้นประดิษฐาน ณ พระจิตกาธานรวมระยะทาง 260 เมตรต่อรอบ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที จัดกำลังพล 781 นาย








4 เพลงพระราชนิพนธ์ ในขบวนพระบรมราชพระอิสริยยศ ริ้วขบวนที่ 1
พระราชพิธีอัญเชิญพระบรมโกศไปพระเมรุมาศ ริ้วขบวนที่ 1
เชิญพระโกศทองใหญ่โดยพระยานมาศสามลำคาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ผ่านทางประตูเทวาภิรมย์จากนั้นใช้เส้นทางถนนมหาราช เลี้ยวเข้าสู่ถนนท้ายวัง มุ่งไปยังถนนสนามไชย เชิญพระโกศทองใหญ่ขึ้นประดิษฐานในบุษบกพระมหาพิชัยราชรถ บริเวณหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม รวมระยะทาง 817 เมตร ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีจัดกำลังพล 965 นาย
ในขบวนพระบรมราชพระอิสริยยศ ริ้วขบวนที่ 1 ใช้เพลงพระราชนิพนธ์ 4 เพลง คือ มาร์ชธงไชยเฉลิมพล มาร์ชราชวัลลภ ใกล้รุ่ง ยามเย็น
เพลงมาร์ชธงไชยเฉลิมพล
เพลงมาร์ชธงไชยเฉลิมพล เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 17 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2475 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่กองทัพไทย เพื่อใช้ในการเชิญธงไชยเฉลิมพลในพิธีการของกองทัพ
เพลงมาร์ชราชวัลลภ
เพลงมาร์ชราชวัลลภ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 7 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใน พ.ศ. 2471 ชื่อ "ราชวัลลภ" และพระราชทานให้เป็นเพลงประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ เพื่อไว้ใช้ในพิธีสวนสนาม หลังจากนั้น ผบ.กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ได้มอบหมายให้พันตรี ศรีโพธิ์ ทศนุต แต่งคำร้องภาษาไทยถวาย มีห้องเพลงยาวกว่าเดิม จึงขอพระราชทานทำนองเพิ่มเติมเพื่อให้เข้ากับคำร้อง ในการแก้ไขทำนองให้เข้ากับคำร้องนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) ช่วยตรวจทาน และได้พระราชทานนามเพลงพระราชนิพนธ์นี้ว่า "มาร์ชราชวัลลภ" (The Royal Guards March) เมื่อ พ.ศ. 2475
เพลงใกล้รุ่ง
เพลงใกล้รุ่ง เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 4 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2489 ขณะทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์คำร้องภาษาไทย ส่วนคำร้องภาษาอังกฤษ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ประพันธ์ พระราชทานให้วงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลงครั้งแรก ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงกรมโฆษณาการ (ปัจจุบันคือกรมประชาสัมพันธ์) เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2489
เพลงยามเย็น
เพลงยามเย็น เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์ ใน พ.ศ. 2489 ขณะยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย และท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา แต่งคำร้องภาษาอังกฤษ แล้วพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีคำร้องสมบูรณ์ทั้งสองภาษาให้ นายเอื้อ สุนทรสนาน นำไปให้ นายบิลลี่ หรือ นายคีติ คีตากร นักดนตรีชาวฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นนักดนตรีในวงดนตรีสุนทราภรณ์เรียบเรียงเสียงประสานจนสมบูรณ์จึงได้นำออกบรรเลงในงานของสมาคมปราบวัณโรค ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 นับเป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกที่นำออกบรรเลงสู่ประชาชน เป็นเพลงที่ร่าเริงแจ่มใสเหมาะสำหรับการเต้นรำในสมัยนั้น จึงเป็นเพลงยอดนิยมของพสกนิกรไทยทันที
ในตลอดทั้งวันของวันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560 จนถึงเช้าตรู่ของวันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา จนถึงช่วงเริ่มงานพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
บรรยากาศรอบบริเวณใกล้สถานที่ใช้จัดงานพระราชพิธีฯ เต็มไปด้วยพสกนิกรชาวไทย ที่ได้หลั่งไหลมายังพื้นที่


โดยแทบทุกคนหวังใจว่าจะสามารถเข้าไปให้ไกล้มณฑลพิธีท้องสนามหลวง สถานที่ที่ใช้จัดงานให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นการส่งเสด็จครั้งสุดท้าย



ภาพที่น่าชื่นชมบนสองข้างทาง ที่อุดมเต็มไปด้วยน้ำใจ มรมิตรไมตรี ที่หลายคนคอยยื่นให้แก่กันและกัน ทั้งที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน มีให้เห็นตลอดทั้งวัน
นอกจากนี้ ทั้งจิตอาสา ทั้งส่วนภาครัฐและเอกชน ต่างก็เข้ามาดูแลซึ่งกันและกัน ทั้งการแจกผ้าเย็น ยาดม น้ำดื่ม อาหาร ขนมนมเนย ให้ได้รับประทานระหว่างการเดินทาง และการเฝ้ารองานพระราชพิธีที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก Sanook